โสมมีทั้งโสมที่ขึ้นอยู่ในป่าตามธรรมชาติ และโสมที่มนุษย์ปลูกขึ้น รากโสมนั้นมีลักษณะคล้ายร่างกายมนุษย์ ตามตำรายาของสมัยโบราณกล่าวว่า ยิ่งโสมมีลักษณะใกล้เคียงมนุษย์มากเท่าไร ก็แสดงว่าโสมนั้นมีคุณค่ามากและมีราคาแพง โสมป่าจะมีคุณประโยชน์มากกว่าโสมปลูก ชาวบ้านพูดกันว่าโสมป่าที่ขึ้นตามธรรมชาตินั้นมีค่าดังทองคำ ในสมัยโบราณจึงมีการออกป่าเพื่อหาโสมกันมาก ก่อนที่จะออกป่าหาโสมนั้นจะต้องมีการทำพิธีต่างๆ เพื่อให้ร่างกายของพรานโสมมีความบริสุทธิ์ เช่น ชำระล้างร่างกายในธารน้ำเย็นก่อนเข้าป่า ไหว้ขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้คุ้มครองจากสัตว์ร้ายในป่า และขอให้ได้พบโสมตามที่ต้องการ ในปัจจุบันโสมป่านั้นหายากเต็มที หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ชาวเกาหลีจึงนิยมทำแปลงปลูกโสมเองบริเวณเชิงเขา เวลานั่งรถไปตามชนบทจะเห็นแปลงโสมอยู่มากมาย ซึ่งเป็นทัศนียภาพที่สวยงามอีกแบบหนึ่ง เกษตรกรจะนำเอาพลาสติกมาขึงแล้วคลุมด้วยหญ้าฟางเป็นหลังคา
เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของร่างกาย
- โสมมีคุณสมบัติต่อต้านความเมื่อยล้า ทำให้ร่างกายปลดปล่อยพลังงานมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะทำงานหรือออกกำลังกาย สารพลังงานเอทีพีและกลัยโคเจนที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อจะถูกใช้หมดอย่างรวดเร็ว และเกิดกรดแลคติกเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้กล้ามเนื้อเมื่อยล้า สารสกัดจากโสมช่วยให้เซลล์ดูดซึมออกซิเจนเพิ่มขึ้น มีผลทำให้กระบวนการเผาผลาญภายในร่างกายเพิ่มมากขึ้น ร่างกายปลดปล่อยพลังงานได้มากขึ้น ขณะเดียวกับอัตราการเกิดกรดแลคติกก็จะน้อยลง เนื่องจากได้รับการการสังเคราะห์ให้กลับเป็นกลัยโคเจนใหม่ และมีการสะสมสารเอทีพีรวดเร็วขึ้น อัตราการเกิดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อจึงลดน้อยลงด้วย
- สารสกัดจากโสมช่วยปรับอัตราการเต้นของหัวใจให้กลับคืนสู่สภาพปกติรวด เร็วยิ่งขึ้น ร่างกายจึงเหน็ดเหนื่อยช้าลง มีความอดทนต่อการทำงานได้ดีขึ้น
- โสมเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคต่าง ๆ มากมายจึงได้รับการพิจารณาให้เป็นสมุนไพรรักษาโรคที่ได้รับความนิยมมากที่ สุดชนิดหนึ่งของโลก ด้วยคุณสมบัติหลายประการ รวมถึงการช่วยให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้ตามปกติ และโดยเฉพาะ คุณสมบัติที่โดดเด่น คือ การเพิ่มประสิทธิภาพร่างกายภายใต้สภาวะที่อ่อนเพลีย
- โสมมีคุณสมบัติลดความเครียด ช่วยปรับสภาพร่างกายและจิตใจให้ทนต่อภาวะต่างๆ ได้มากขึ้น และยังช่วยลดความเมื่อยล้า โดยกระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายสร้างพลังงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงมากขึ้น
- โสมมีส่วนช่วยเพิ่มอัตราการสร้างและเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ทำให้นักกีฬามีความทนทานต่อการออกกำลังหนักได้ดีขึ้น และช่วยให้ร่างกายสามารถนำพาออกซิเจนไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- สารสกัดจากโสมมีคุณสมบัติต้านความเครียด โดยฮอร์โมน ACTH จากต่อมใต้สมองจะเป็นตัวควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันและต่อต้านความเครียด โดยเร่งกระบวนการเมตาบอลิสซึมต่างๆ เพื่อปลดปล่อยพลังงานและสารออกมาต้านความเครียด
- ช่วยปรับสภาพร่างกายและจิตใจ ให้ทนต่อความกดดันจากภายนอก โสมเร่งขบวนการเผาผลาญอาหารต่างๆ เพื่อปลดปล่อยพลังงานออกมาต่อต้านความเครียด
- ลดการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียดจากต่อมหมวกไต
- ช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบในหญิงวัยหมดประจำเดือน
- เชื่อกันว่าโสมมีฤทธิ์เป็นตัวกระตุ้นกำหนัดทางเพศ แต่การวิจัยค้นความด้วยวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่พิสูจน์ว่าโสมไม่ได้มี ฤทธิ์ต่อฮอร์โมนเพศ หากการบำรุงด้วยโสมทำให้สมรรถภาพร่างกายและจิตใจสมบูรณ์แข็งแรง จึงส่งผลให้สมรรถภาพทางเพศมีความสมบูรณ์ขึ้นไปด้วย
- เสริมประสิทธิภาพทางเพศในชาย มีงานวิจัยในผู้ป่วยที่มีปัญหาองคชาติไม่แข็งตัว ( Erectile dysfunction ) 45 รายโดยรับประทานโสมเกาหลี ปริมาณ 900 ม.ก. 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลาสองเดือน พบว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการประเมินอย่างละเอียดทุกด้าน โสมจึงช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย
- รักษาโรคสมรรถภาพทางเพศเสื่อม ผลต่อสมรรถภาพทางเพศ ในสมัยโบราณเชื่อกันว่าโสมเป็นตัวกระตุ้นกำหนัดทางเพศ แต่การวิจัยทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ว่า โสมไม่ได้ทำให้ฮอร์โมนทางเพศเปลี่ยนแปลงเลย การที่โสมช่วยให้สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น เป็นผลจากคุณสมบัติที่ทำให้สุขภาพจิต และสมรรถภาพทางร่างกายดีขึ้น
- ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศ
- สารสกัดจากโสมทำให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินออกมาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันการเกิดอาการชาตามนิ้วมือและปลายเท้า การเกิดแผลเน่าเปื่อย นอกจากนี้สารจินซีโนไซด์ Rb1 และ Re ยังมีฤทธิ์คล้ายอินซูลิน ช่วยลดขนาดการใช้อินซูลินในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานได้
- สารไบโอแอกทีฟในโสมช่วยรักษาเบาหวาน
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ เสริมฤทธิ์ฮอร์โมนอินซูลินในการกำจัดน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกาย
- โสมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผลการทดลองพบว่าสารสกัดโสมช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น
- ปฏิกริยาตอบสนองของเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ ดีขึ้น
- กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการสร้างสารอินเทอเฟียรอน ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านไวรัส และกระตุ้นการสร้างอินเทอลิวคิน-1
- อัตราการทำลายจุลินทรีย์หรืออนุภาคแปลกปลอมต่างๆของเซลล์เม็ดเลือดขาว เพิ่มขึ้น จำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มสูงขึ้น เป็นผลทำให้ร่างกายสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อโรค ที่มีสาเหตุจากเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อไวรัส เชื้อรา และสารเคมีต่างๆ ตลอดจนการต่อต้านโรคภูมิแพ้ หรือโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดต่างๆ
- จากการศึกษาวิจัยและผลทางคลีนิกพบว่าโสมสามารถต่อต้านโรคและอันตราย จากรังสีรวมถึงสารพิษต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อโรคแทรกซ้อนบางชนิด ช่วยร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดง และเพิ่มสมรรถภาพในการต้านความเครียดซึ่งส่งผลให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น จึงทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวหายเป็นปกติจากอาการป่วยได้เร็วขึ้น
- ช่วยให้ระบบย่อยทำงานได้ดีขึ้น ช่วยเจริญอาหาร
- ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญอาหารได้ดีขึ้น
ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง
- ในขนาดต่ำจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ช่วยให้ตื่นไม่ง่วง ในขนาดสูงออกฤทธิ์กดประสาท ทำให้หลับสนิท ใช้รักษาโรคนอนไม่หลับ สารจินซีโนไซด์ Rg1 จากโสมหรือในสารสกัดโสมจะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางให้ตื่นตัว แต่จะเป็นการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากยากระตุ้นประสาทจำพวกแอมเฟตามีนหรือโคเคน จึงไม่ทำให้กระทบกระเทือนต่อการนอนหลับตามปกติ ส่วนจินซีโนไซด์ Rb และ Rc จะออกฤทธิ์ระงับประสาท ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด สารสกัดจากโสมจึงมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยเป็นทั้งตัวช่วยให้ประสาทตื่นตัวและระงับผ่อนคลายประสาท
- ช่วยการเรียนรู้และความจำ ใช้รักษาโรคความจำเสื่อม
- ช่วยลดความเครียด ช่วยลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และความเหนื่อยล้าของสมอง
- โสมมีผลต่อการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นและการได้ยิน
- สารต้านอนุมูลอิสระในโสมช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ชะลอความชราภาพของเซลล์และอวัยวะต่างๆ
- กระบวนการเผาผลาญไขมันของร่างกายเพื่อให้เกิดพลังงาน เป็นสาเหตุทำให้เกิดอนุมูลอิสระที่สลายตัวจากออกซิเจน อนุมูลอิสระจะทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างให้เสื่อมสลายลงตามกระบวนการของ ความชรา โสมและสารสกัดมาตรฐานโสม สามารถทำลายอนุมูลอิสระของออกซิเจนช่วยให้เนื่อเยื่อเสื่อมสภาพช้าลง ประกอบกับคุณสมบัติเป็นตัวปรับสภาพ "adaptogenic agent” ของโสม ทำให้ร่างกายและจิตใจมีความทนทานต่อความกดดัน ส่งผลในการชะลอกระบวนการเสื่อมชราให้ช้าลง และทำให้ร่างกายคงความสดใสเยาว์วัยอยู่ต่อไปได้เนิ่นนานขึ้น
- ช่วยลดอาการผิวหนังแห้งและเหี่ยวย่น ช่วยให้ผิวชุ่มชื่น
- รักษาความดันโลหิตสูง ลดภาวะเส้นเลือดแข็งตัว และลดการจับตัวของเกล็ดเลือดในหลอดเลือด
- โสมมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงหัวใจโดยออกฤทธิ์คล้ายกับยา digoxin
- ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ป้องกันภาวะเส้นเลือดอุดตัน
- กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ ชีพจรเต้นเป็นปกติ
- โสมมีสรรพคุณช่วยในเรื่องโรคปอดเรื้อรัง ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือโรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก
- ป้องกันการกลายพันธุ์ของเซลล์ปกติไปเป็นเซลล์มะเร็ง หรือเนื้องอก โดยเฉพาะบริเวณกระเพาะอาหารและรังไข่ สารไบโอแอกทีฟในโสมช่วยยับยั้งการเจริญของเนื้องอก
- การรับประทานโสมเกาหลีเป็นเวลานานสามารถลดอุบัติการณ์ของมะเร็งตับลงได้ ด้วยฤทธิ์ต้านสารอัลฟาท็อกซินบีและยูรีเทน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในโรคมะเร็งตับ แต่ก็ยังไม่สามารถลดอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งตับจากการดื่มสุราหรือสาเหตุ อื่นได้
- โสมช่วยลดอุบัติการณ์หรือโอกาสเป็นมะเร็งบางชนิด ได้แก่ มะเร็งริมฝีปาก ช่องปากและคอ มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งรังไข่ และมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ลดอัตราการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
- ลดอาการข้างเคียงจากการฉายรังสี
1. ในบางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ กระวนกระวาย นอนไม่หลับ ท้องเดิน ผื่นคันและบวม ประจำเดือนขาด หรือเจ็บเต้านม หากเกิดอาการดังกล่าวควรหยุดรับประทานให้ปรึกษาแพทย์ทันที
2. ผู้ที่รับประทานโสมมานานและปริมาณมากอาจจะเกิดกลุ่มอาการที่ประกอบไปด้วย ความดันโลหิตสูง นอนไม่หลับ มีผื่นและท้องร่วงที่เรียกว่า ginseng abuse syndrome
3. โสมแดงอาจจะเสริมฤทธิ์กับกาแฟ หรือสารที่กระตุ้น
4. แม่ที่รับประทานโสมขณะตั้งครรภ์ เมื่อคลอดลูกอาจจะมีขนมาก
5. โสมมีฮอร์โมนซึ่งทำให้เกิดอาการคัดเต้านม
6. มีรายงานการตรวจพบยาฆ่าแมลงบางชนิดในโสมที่วางจำหน่าย และบางตัวอย่างพบว่ามีปริมาณโสมน้อยกว่าที่ระบุในฉลาก
พิษวิทยา
- การวิจัยทางพิษวิทยาทั้งในเชิงเฉียบพลันและเรื้อรัง ยังไม่ปรากฏรายงานเกี่ยวกับผลข้างเคียงหรือพิษที่เกิดจากการใช้สารสกัด มาตรฐานโสม แม้จะมีการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ถือว่าการรับประทานโสมหรือสารสกัดมาตรฐาน มีความปลอดภัยสูง
- ยาที่ไม่ควรทานร่วมกับโสม ได้แก่ ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชื่อ warfarin ยากระตุ้นหัวใจชื่อ digoxin ยาต้านซึมเศร้าชื่อ phenelzine และสุรา อาจมีการรบกวนประจำเดือน อาการเจ็บหน้าอกขณะมีประจำเดือน
- ไม่ควรทานโสมกับยาแอสไพริน รวมถึงไม่ควรทานอย่างยิ่งในสตรีตั้งครรภ์และเด็ก คนที่ตับอักเสบพบเอนไซม์ของตับสูงแล้ว หรือตับอักเสบจนตัวเหลืองตาเหลือง หรือตับโต ไม่ควรทานโสม
- โสมเป็นของร้อน บางคนทานแล้วก็หงุดหงิด จึงมีคำแนะนำให้ทานร่วมกับใบบัวบก ซึ่งเป็นของเย็น ผู้สูงอายุหลายคนทานโสมกับใบบัวบกเป็นประจำ
- โสมชนิดสีขาว ได้มาจากรากโสมที่เก็บเกี่ยวมาสดๆ ล้างทำความสะอาดและตากแดดให้แห้ง รากโสมที่แห้งแล้วจะมีสีเหลืองปนขาว
- โสมชนิดสีแดง ทำจากรากชนิดเดียวกับชนิดโสมสีขาว แต่ต่างกันที่วิธีการผลิต คือจะนำเอารากโสมสดที่ล้างทำความสะอาดแล้วมาทำการฆ่าเชื้อโรค โดยการนึ่งด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิ 120–130 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 2-3 ชั่วโมง ทำให้รากโสมเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนแดง จากนั้นจึงนำไปตากแดดให้แห้งสนิท
- สารสำคัญในโสมที่พบในรากเป็นสาร saponin ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มจินซีโนไซด์ ginsenoside กลุ่ม panaxoside และกลุ่ม chikusetsusaponin ส่วนประกอบที่สำคัญของโสมคือสารจินซีโนไซด์ ซึ่งจะมีในโสมประมาณร้อยละ 1-2 โดยน้ำหนัก ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของโสม แหล่งที่ปลูก รวมทั้งกระบวนการผลิต พบว่าโสมที่ขายในท้องตลาดบางชนิดแทบจะไม่มีสารจินซีโนไซด์เลย เวลาหาซื้อโสมมาบำรุงร่างกายจึงควรดูส่วนประกอบของโสมคือจินซีโนไซด์เป็น สำคัญ
- รากโสมจะได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิผลในการบำบัดรักษา โดยไม่มีข้อโต้แย้งเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลของโสมในด้านการบำรุงรักษาสุขภาพ ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทำให้สามารถววิเคราะห์และพิสูจน์โสมใน เชิงวิทยาการและเทคโนโลยีได้ เมื่อมีผลการวิเคราะห์และพิสูจน์ ทำให้โสมได้รับความนิยมแพร่หลายและเชื่อถือกันมากยิ่งขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการป้องกันและบำบัดรักษาโรคของโสม โดยไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายหรือมีความเสี่ยงต่อการเสพติดเหมือนสาร เคมีสังเคราะห์อื่นๆ
- เมื่อนำเอารากโสมและสารสกัดจากรากโสมมาทำการวิเคราะห์และตรวจพิสุจน์ พบว่าสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเป็นสารจำพวก interpene saponins ชนิดต่างๆ ที่มีชื่อเรียกว่าจินซีโนไซด์ “Ginsenosides" การวิเคราะห์และตรวจพิสูจน์ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น High Performance Liquid Chromatography (HPLC), Mass Spectrometry (MS), Nuclear Magnetic Resonance Spectrometry (NMR) เป็นต้น ช่วยให้สามารถแยกและจำแนกสารจินซีโนไซด์จากรากโสมและสารสกัดจากรากโสมได้ อย่างน้อย 22 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาแตกต่างกัน เมื่อนำจินซีโนไซด์ทั้งหมดมาใช้รวมกัน จะมีฤทธิ์เป็นตัวปรับสภาพร่างกายให้มีความสมดุลย์ตามธรรมชาติตามที่ร่างกาย ต้องการ เรียกว่า adaptogenic agent
- สารจินซีโนไซด์ชนิดต่างๆที่พบในปัจจุบันนั้น มีสารสำคัญหลักอยู่ด้วยกัน 6 ชนิด คือ Rb1, Rb2, Rc, Rd, Re และ Rg ส่วนที่เหลือเป็นสารฤทธิ์รองคือ Rb3, Ra, Ra1, Ra3, RO, Rg1,Rg2, Rg3, Rh1นอกจากสารจินซีโนไซด์ชนิดต่างๆ แล้วยังพบว่ารากโสมมีสารประกอบที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากกว่าสองร้อย ชนิด ที่สำคัญได้แก่ สเตอรอล น้ำมันหอมระเหย แป้ง น้ำตาล วิตามินชนิดต่างๆ กรดอะมิโน และเป็ปไทด์
- สารจินซีโนไซด์เป็นตัวกำหนดคุณค่าของโสม ในโสมต่างพันธุ์หรือแม้แต่ในโสมพันธุ์เดียวกัน แต่ปลูกต่างถิ่น และรากโสมมีอายุไม่เท่ากันจะมีส่วนประกอบของจินซีโนไซด์ต่างกัน และปริมาณจินซีโนไซด์ในแต่ละชนิดก็ไม่เท่ากัน
- จินซีโนไซด์ที่สะสมอยู่ต่ามส่วนต่างๆ ของรากโสมมีจำนวนและปริมาณไม่เท่ากัน ในส่วนรากโสมใหญ่หรือส่วนลำตัว มีจินซีโนไซด์รวมทั้งหมดเพียง 1.5% ขณะที่ส่วนรากแขนงและรากฝอย หรือส่วนที่เป็นแขนขา มีอยู่ 3-4% และส่วนหัวมีมากถึง 5-9% คุณค่าของโสมจึงไม่ได้อยู่ที่รูปร่างลักษณะของรากโสม แต่ขึ้นอยู่กับจำนวนและปริมาณของจินซีโนไซด์ที่มีอยู่ในรากโสม โดยสรรพคุณจะขึ้นอยู่กับจำนวนปริมาณจินซีโนไซด์ ความครบถ้วนของจินซีโนไซด์แต่ละชนิดในอัตราส่วนที่เหมาะสม
- การเพาะปลูกโสมมีกระบวนการที่ยุ่งยากและซับซ้อน โสมสามารถขยายพันธุ์ได้เฉพาะจากเมล็ดเท่านั้น ต้นโสมต้องการอุณหภูมิต่ำ สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมและอุดมสมบูรณ์ การปลูกโสมใช้เวลายาวนานนับจากการเพาะเมล็ด ซึ่งจะต้องเป็นเมล็ดสุกและแก่เต็มที่จากต้นโสมที่มีอายุประมาณ 5 ปีเท่านั้น โสมที่จะเก็บเกี่ยวเป็นผลผลิตได้จะต้องมีอายุประมาณ 4-6 ปี ฤดูกาลที่เหมาะสมของการเก็บเกี่ยวโสมที่มีคุณภาพดีที่สุดคือระหว่างเดือน กันยายนถึงเดือนตุลาคมในแต่ละปี
- วิธีการปลูกคร่าว ๆ ดังนี้
- ปีที่หนึ่ง ราวกลางเดือนกรกฎาคมเป็นการรวบรวมเมล็ดพันธุ์ ปลายกรกฎาคม–ต้นสิงหาคม เป็นช่วงคัดเมล็ดพันธุ์ ปลายตุลาคม-ต้นพฤศจิกายน เริ่มหว่านเมล็ด จนผ่านหน้าหนาวไปจนถึงกลางเดือนเมษายน
- ปีที่สอง เมล็ดเริ่มเพาะตัว ในกลางเดือนเมษายนทำหลังคาคลุมด้วยฟาง ตุลาคมจนผ่านหน้าหนาวไปจนถึงปลายเดือนมีนาคม
- ปีที่สาม ย้ายต้นอ่อนมาไว้ที่เรือนปลูก ปลายมีนาคม–ต้นเมษายน คลุมด้วยฟาง ตุลาคมจนผ่านหน้าหนาวไปจนถึงเดือนมีนาคม
- ปีที่สี่ เอาฟางที่คลุมออก มีนาคมเริ่มพรวนดินใหม่ พฤษภาคม–กันยายน คลุมด้วยฟาง ตุลาคมจนผ่านหน้าหนาว
- ตั้งแต่ปีที่สี่ จะวนซ้ำตามขั้นตอนนี้ จนกระทั่งครบ 6 ปี
- การเก็บโสม ส่วนที่เก็บคือราก การเก็บรากโสมต้องทำให้แห้งโดยเร็ว เพื่อป้องกันมิให้เอนไซม์ออกมาทำลายสาร saponin ในประเทศเกาหลีจะมีการคัดโสมคุณภาพดีจำนวนหนึ่งอบไอน้ำเพื่อทำลายเอนไซม์ให้ หมดก่อนอบแห้ง เรียกโสมที่ผ่านกรรมวิธีนี้ว่า โสมแดง จัดเป็นโสมที่มีคุณภาพสูงสุด ราคาสูง ส่วนโสมที่นำไปตากแดดหรือทำให้แห้งโดยวิธีอื่น เรียกว่าโสมขาว คุณภาพและราคาต่ำกว่าชนิดแรก
- โสมที่นิยมรับประทานควรมีอายุอย่างน้อย 6 ปี เมื่อปลูกครบ 6 ปีแล้วก็จะขุดหัวได้ ขุดลงไปประมาณ 5-10 เซ็นติเมตร จึงเห็นรากโสม โสมต้นหนึ่งจะมีหัวเดียว ความสูงของหัวโสมประมาณ 7-10 เซ็นติเมตร ส่วนหัวโสมสดหัวเล็ก ๆ ที่มีอายุน้อยกว่า 6 ปีชาวเกาหลีนิยมนำมาตุ๋นกับซุปไก่ตัวเล็ก ๆ ยัดไส้ข้าวเหนียว รับประทานเป็นอาหาร ที่ขึ้นชื่อคือซุปไก่ตุ๋นโสม ถ้าไม่ได้ชิมก็เหมือนกับไปไม่ถึงเกาหลี
- มีการปลูกโสมกันอย่างกว้างขวางในประเทศเกาหลี ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศและคุณภาพของดินเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต โสมควรปลูกในที่ร่มและมีการเจริญเติบโตช้าเมื่อเทียบกับพันธุ์ไม้ชนิดอื่น และยังค่อนข้างเปราะบาง ได้เคยมีการนำสารเคมีมาสังเคราะห์ขึ้นเพื่อขยายการเจริญเติบโตของมันให้รวด เร็วขึ้น โดยการปรับปรุงดิน ผลปรากฏว่า รากของโสมมักจะเน่าและตายลงเสมอ ดังนั้นโสมจะเจริญเติบโตได้ดีเฉพาะในดินธรรมชาติเท่านั้นและดูดซึมเอาแร่ ธาตุที่มีประโยชน์มาเก็บไว้ในรากของโสมซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10-15 ปีถึงจะได้ลำต้นที่มีลักษณะที่สมบูรณ์อีกครั้ง เมื่อปลูกครบ 6 ปีแล้วที่ดินตรงนั้นจะใช้ปลูกโสมไม่ได้เลยเป็นเวลา 15 ปีเพื่อรอให้ดินบริเวณนั้นมีแร่ธาตุที่อุดมสมบูรณ์พร้อมที่จะปลูกโสมในครั้ง ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น