อีเอ็ม (EM)
ย่อมาจาก Effective Microorganism หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิงะ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 และค้นพบอีเอ็ม เมื่อ พ.ศ. 2526 พบว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ได้ผลจริง หลังจากนั้นศาสตราจารย์วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทยศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิงะ พบว่ามีกลุ่มจุลินทรีย์อยู่ 3 กลุ่มรวมอยู่ในกระบวนปลูกพืชที่เกิดจากการหมัก งานวิจัยของเขาแสดงให้เห็นถึงจุลินทรีย์จำเพาะที่ดีที่มีอยู่ในดินและน้ำในสัดส่วนที่แน่นอน เขาจึงได้พัฒนาสูตรของ EM ในหัวเชื้อน้ำ EM ทางการค้า นั้นเป็นการผสมผสานของส่วนประกอบต่างๆ ของจุลินทรีย์หลายชนิดที่สามารถขยายส่วนทำเพิ่มเติมได้จากขนาดที่มีอยู่เดิมถึง 20 เท่า โดยการใส่หัวเชื้อน้ำ EM ผสมลงในน้ำและกากน้ำตาลจากนั้นก็หมักใส่ภาชนะปิดฝาไว้ประมาณ 3 วันถึงหนึ่งอาทิตย์หรือเป็นเดือนก็ได้ แล้วแต่วัตถุประสงค์ที่จะใช้ อีเอ็มเป็นของเหลวสีน้ำตาลดำซึ่งมีจุลินทรีย์ประมาณ 80 ชนิดที่สามารถย่อยสลาย อินทรียวัตถุ อีเอ็มสามารถใช้ในบ้านและครัวเรือนเหมือนกับสารธรรมชาติฆ่าเชื้อโรค เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลายช่วยให้เกิดการย่อยสลาย ไม่มีกาก ทำให้ส้วมไม่เต็ม ใช้กำจัดเศษอาหาร
ความสามารถและประโยชน์ในการใช้ EM
1. สามารถใช้ในบ้านเรือน ในชีวิตประจำวันได้2. นำของเสียจากอาหารกลับมาใช้ใหม่และเพิ่มคุณค่าอินทรียวัตถุ
3. ปรับปรุงโครงสร้างและคุณภาพดิน เพิ่มผลผลิต และกำจัดวัชพืชและโรคพืช
4. แก้ปัญหาทางสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำและดิน
5. การทำเกษตรและพืชสวน ผลไม้ และการเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับ
6. ในการเลี้ยงสัตว์และปศุสัตว์
7. ใช้ในการประมงสัตว์น้ำและสระว่ายน้ำ
8. ในสุขภาพส่วนบุคคลและร่างกายช่วยป้องกันและรักษาปัญหาทางสุขภาพ
วีธีการขยาย EM
EM 1 ส่วน + กากน้ำตาล 1 ส่วน + น้ำสะอาด 20 ส่วน หมักไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิดอย่าให้อากาศเข้าได้เป็นเวลา 7 วัน แล้วนำมาใช้ให้หมดภายใน 7 วัน
วิธีการเก็บรักษา EM
เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 20 - 45 องศาเซลเซียส (อย่าเก็บในตู้เย็น) โดยปิดฝาให้สนิท
EM เสียสภาพ
หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก
ให้นำ EM ที่เสียผสมน้ำรดกำจัดหญ้าและวัชพืชที่ไม่ต้องการได้ กรณีเก็บไว้นาน ๆ จะมีฝ้าขาว
เหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัว เมื่อเขย่าภาชนะฝ้าขาวจะสลายตัวกลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิมนำ
ไปใช้ได้ เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอม และเป็นฟองขาว ๆ ภายใน 2-3
วัน ถ้าไม่มีฟอง น้ำนิ่งสนิทแสดงว่าการหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล
สูตรที่ 1 : การทำหัวเชื้อจุลินทรีย์
วัสดุอุปกรณ์
1. สับปะรด 3 ถ้วย
2. น้ำซาวข้าว 1 ถ้วย
3. น้ำมะพร้าวสด 1 ถ้วย
4. กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 1 แก้ว
5. ถังพลาสติก ขนาด 15-20 ลิตร 1 ใบ
6. ผ้าขาวบาง เชือกฟาง
7. ถ้วยพลาสติก (ถ้วยแกง)
8. น้ำ
วิธีทำ
1) นำเปลือกและเนื้อสับปะรดสับให้ละเอียด ตวงโดยใช้ถ้วยพลาสติก 3 ถ้วย ใส่ถัง
ที่เตรียมไว้
2) เติมน้ำซาวข้าว
3) เติมน้ำมะพร้าวสด
4) นำขั้นตอนที่ 1–3 คลุกเคล้าให้เข้ากัน
5) เติมกากน้ำตาล 1 แก้ว จากนั้นคนให้เข้ากัน
6) ใช้ผ้าขาวบางปิดปากถัง และใช้เชือกฟางรัดขอบถังให้แน่น
7) ทำการหมักทิ้งไว้ 7 – 10 วัน น้ำสีน้ำตาลที่เกิดอยู่ในถังคือหัวเชื้อจุลินทรีย์
หมายเหตุ : เก็บใส่ขวด ปิดฝาให้แน่นเก็บไว้ใช้ได้ 1 ปี ห้ามโดนแสงแดด และไม่ใส่ตู้เย็น ให้ตั้งไว้
ในห้องที่มีอุณหภูมิปกติ และมีแสงพอประมาณ
การขยายจุลินทรีย์ EM : ผสมจุลินทรีย์ EM 2 ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ และน้ำ 1 ลิตร
เข้าด้วย ในขวดพลาสติกชนิดฝาเกลียวปิดฝาให้แน่น เก็บไว้ 5 วัน จะเป็นหัวเชื้อขยาย เป็นการนำ
จุลินทรีย์มาขยายให้ได้จำนวนมาก ลดต้นทุนการนำไปใช้ หรือขยายต่อได้อีกเก็บได้นาน 3 เดือน
ประโยชน์ : ใช้ทำจุลินทรีย์น้ำ ฮอร์โมน สารไล่แมลงและจุลินทรีย์แห้ง ฯลฯ
สูตรที่ 2 : การทำฮอร์โมนผลไม้
วัสดุอุปกรณ์
1. มะละกอสุก 2 กิโลกรัม
2. ฟักทองแก่จัด 2 กิโลกรัม
3. กล้วยน้ำว้าสุก 2 กิโลกรัม
4. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว
5. กากน้ำตาล 1 แก้ว
6. น้ำ 10 ลิตร
วิธีทำ : หั่นมะละกอ ฟักทอง กล้วยทั้งเปลือกและเมล็ด ใส่ในถังพลาสติก แล้วผสม EM และกาก
น้ำตาลอย่างละ 1 แก้ว ใส่น้ำ 10 ลิตร ปิดฝาให้แน่นหมักไว้ 7 – 8 วัน ก่อนใช้
วิธีใช้ : ใช้ 4 – 5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตร สำหรับฉีดพ่น หรือรดไม้พืชหรือไม้ดอก
ประโยชน์ : ทำให้ดอกติด ผลดก ขนาดโต น้ำหนักดี รสชาติอร่อย
สูตรที่ 3 : การทำฮอร์โมนยอดพืช
วัสดุอุปกรณ์
1. ยอด/ใบยูคาลิปตัส 1 กิโลกรัม
2. ยอดสะเดา (ยอดและเมล็ด) 1 กิโลกรัม
3. น้ำ 10 ลิตร
4. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว
5. กากน้ำตาล 1 แก้ว
วิธีทำ
1) นำใบหรือยอดยูคาลิปตัส ยอดสะเดา และน้ำ 10 ลิตร (1 ถัง) ต้มรวมกันจนเหลือน้ำ
ครึ่งถัง ทิ้งให้เย็น
2) ผสมจุลินทรีย์ และกากน้ำตาล หมักไว้ 7 – 10 วัน
วิธีใช้ : ใช้ 4 – 5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตร สำหรับฉีดพ่น หรือรดไม้พืชหรือไม้ดอก
ประโยชน์ : ทำให้ดอกติด ผลดก ขนาดโต น้ำหนักดี บำบัดน้ำเสีย
สูตรที่ 4 : สูตรไล่หอย เพลี้ยไฟ
วัสดุอุปกรณ์
1. ยอดยูคาลิปตัส 2 กิโลกรัม
2. ยอดสะเดา (20 ยอด) 2 กิโลกรัม
3. ข่าแก่ 2 กิโลกรัม
4. บอระเพ็ด 2 กิโลกรัม
5. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว
6. กากน้ำตาล 1 แก้ว
วิธีทำ
1) นำยอดยูคาลิปตัส ยอดสะเดา ข่าแก่ และบอระเพ็ด แต่ละอย่างแยกกันใส่ปี๊บ ใส่น้ำ
1) นำยอดยูคาลิปตัส ยอดสะเดา ข่าแก่ และบอระเพ็ด แต่ละอย่างแยกกันใส่ปี๊บ ใส่น้ำ
ให้เต็ม ต้มให้เหลือน้ำอย่างละครึ่งปี๊บ ทิ้งไว้ให้เย็น
2) นำมาเทรวมกันในถังใหญ่หรือโอ่ง ใส่จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว, กากน้ำตาล 1 แก้ว ปิดฝา
ให้สนิททิ้งไว้ 5 วัน
วิธีใช้ : ใช้ครึ่งแก้ว ผสมน้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีด พ่น รด หรือราดในแปลงพืช ผัก ในนาข้าวเพื่อป้องกันใบ
ข้าวไหม้
ประโยชน์ : สารไล่หอย กำจัดเพลี้ยไฟ บำบัดน้ำเสีย
สูตรที่ 5 : สูตรไล่แมลง
วัสดุอุปกรณ์
1. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว
2. กากน้ำตาล 1 แก้ว
3. น้ำส้มสายชู 5% 1 แก้ว
4. เหล้าขาว 28–40 ดีกรี 2 แก้ว
5. น้ำ 10 ลิตร
วิธีทำ
1) นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมให้เข้ากัน ใส่ภาชนะปิดฝาให้สนิทหมักไว้ 7 – 10 วัน
2) เขย่าถังเบา ๆ วันละอย่างน้อย 1 ครั้ง และเปิดฝานิด ๆ ให้ก๊าซระบายออก
3) ครบกำหนดเทใส่ขวดพลาสติกปิดฝาเกลียว เก็บไว้ใช้ได้นาน 3 เดือน
วิธีใช้ : ใช้ 4 – 5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีด พ่น หรือราดไม้ใบ ไม้ผล พืชสวน ทุกสัปดาห์
ประโยชน์ : สารไล่แมลงชนิดต่างๆ และบำบัดน้ำเสีย
สูตรที่ 6 : สูตรไล่แมลง (โดยใช้ลูกยอสุก)
วัสดุอุปกรณ์
1. ลูกยอสุก 1 กิโลกรัม
2. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว
3. กากน้ำตาล 1 แก้ว
วิธีทำ : นำลูกยอสุกมาสับให้ละเอียด ใส่น้ำพอท่วมผสมจุลินทรีย์ EM กากน้ำตาล คนให้เข้ากัน
หมักไว้ 10 วันแล้วกรองเอาแต่น้ำมาใช้
วิธีใช้ : ใช้ 1 แก้ว ผสมน้ำ 20 ลิตร นำไปฉีด พ่น
สูตรที่ 7 : สูตรกำจัดไรในเห็ดและพืชต่าง ๆ
วัสดุอุปกรณ์
1. ใบน้อยหน่า 1 ถ้วย
2. ต้นข่า 1 ถ้วย
3 ตะไคร้หอม 1 ถ้วย
4. กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 1 แก้ว
5. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว
6. น้ำ (ทิ้งไว้ 1 คืน) 1/2 ลิตร
วิธีทำ
1) นำใบน้อยหน่าสับละเอียด 1 ถ้วย ผสมต้นข่าสับละเอียด 1 ถ้วย จากนั้นใส่ตะไคร้หอม
ที่สับละเอียด 1 ถ้วย คลุกเคล้าให้เข้ากัน
2) เติมกากน้ำตาล และน้ำเปล่าลงไป ผสมให้เข้ากัน จากนั้นหมักไว้ 15 - 30 วัน
วิธีใช้ : ใช้ 1 แก้ว ผสมน้ำ 20 ลิตร นำไปใช้ฉีดพ่น
ประโยชน์ : กำจัดไรในเห็ดชนิดต่างๆ รวมทั้งพืชผัก บำบัดน้ำเสีย
สูตรที่ 8 : สูตรสารทำความสะอาด และลดมลพิษทางน้ำ
วัสดุอุปกรณ์
1. มะกรูด 1 ถ้วย
2. กากน้ำตาล 1 แก้ว
3. ผงขี้เถ้าผสมน้ำ หรือน้ำปูนใส 1 แก้ว
4. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว
5. น้ำ (ทิ้งไว้ 1 คืน) 1 แก้ว
6. N70 (สารทำให้เกิดฟอง) 500 ซีซี
วิธีทำ
1) นำมะกรูดมาผ่าซีก ใส่กากน้ำตาล เติมน้ำเปล่า หมักทิ้งไว้ 3 เดือน
2) เติมน้ำปูนใส (นำปูนแดงละลายน้ำ ปล่อยให้ตกตะกอน ตวงแต่น้ำใสด้านบนมาใช้)
และสาร N70 (สารทำให้เกิดฟอง) หมักทิ้งไว้อีก 1 เดือน ก็จะนำมาใช้ได้
วิธีใช้ : ใช้ 4 – 5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตร ฉีดพ่น รด
ประโยชน์ : เป็นน้ำยาล้างจาน ใช้ถูพื้น กำจัดคราบและกลิ่น บำบัดน้ำเสีย
สูตรที่ 9 : การทำจุลินทรีย์น้ำ (ใช้ได้ทันที)
วัสดุอุปกรณ์
1. จุลินทรีย์ EM 1 ช้อนโต๊ะ
2. กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำ 10 ลิตร
วิธีทำ : นำจุลินทรีย์ EM และกากน้ำตาล ผสมน้ำให้เข้ากัน
วิธีใช้ : พืช ผัก ใช้ฉีด พ่น ราด ทุก ๆ 3 วัน ไม้ดอก ไม้ผล พืชสวน ใช้ฉีด พ่นอยู่ ทุกๆ 7 วัน
ประโยชน์ : บำบัดน้ำเสีย กำจัดกลิ่น
สูตรที่ 10 : สูตรน้ำซาวข้าว
วัสดุอุปกรณ์
1. น้ำซาวข้าว 2 ลิตร
2. จุลินทรีย์ EM 4 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1) นำน้ำซาวข้าว ประมาณ 2 ลิตร (หากไม่ถึง 2 ลิตร ให้เติมน้ำสะอาดลงไป)
2) ใส่จุลินทรีย์ EM 4 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน แล้วบรรจุในขวดพลาสติกชนิดฝาเกลียว
ปิดฝาให้สนิท
3) เก็บไว้ 4 วัน น้ำที่ได้มีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมจึงนำไปใช้
วิธีใช้ 1. ใช้แทนผงซักฟอก โดยใช้สูตรน้ำซาวข้าว ผสมน้ำในอัตราส่วน 1:20 แช่ผ้าทิ้งไว้ 1 คืน
กรณีใช้เครื่องซักผ้า ประมาณ 500 ซีซี วันรุ่งขึ้นซักน้ำสะอาด และนำผ้าตากให้แห้ง ผ้าจะสะอาด
ไม่กระด้าง รีดง่าย
2. ใช้เป็นสเปรย์ดับกลิ่น โดยนำสูตรน้ำซาวข้าวใส่ขวดที่มีหัวฉีดเป็นละออง ดับกลิ่น
เหม็นติดเสื้อผ้า กลิ่นอับในรถยนต์
3. ใช้ผสมน้ำถูพื้นบ้าน พื้นครัว (อัตราส่วนต้องดูตามความสกปรก)
4. กรณีที่มีตะกอนที่ก้นขวด ให้ใช้เฉพาะน้ำที่ใสเท่านั้น
5. ใช้ให้หมดภายในเวลาประมาณ 4 วัน
ประโยชน์ : ถูพื้น ทำความสะอาด ซักผ้า ดับกลิ่น บำบัดน้ำเสีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น