ซีอิ๊ว


 ซีอิ๊วนั้นจะว่าไปก็ถือว่าเป็นภูมิปัญญาของชาวตะวันออกอย่างแท้จริง 


กล่าวย้อนไปในสมัยอดีตนั้น ซอสปรุงรสเค็ม ในจักรวรรดิโรมันเองก็เกิดวัฒนธรรมการใช้ซอสเหมือนบ้านเรา แต่เขาจะเรียกว่า การุม/ลิควาเมน ซึ่งนัยหนึ่งก็คือน้ำปลาฝรั่ง(หมักจากแอนโชวี่และเกลือ)นั่นเอง
แต่เหนือจากนั้นทางซีกโลกตะวันตก ความนิยมใช้เกลือเป็นส่วนประกอบในการอาหารมากกว่า แต่ก็เกิดวัฒนธรรมคู่ขนานอีกก็คือ แมกกี้(ซอสปรุงรส)นั่นเอง แต่ถ้าเทียบกับประวัติการทำซีอิ๊วนั้นก็ถือเสียว่าตามหลังอยู่มากโข

คนจีนนั้นรู้จักถั่วเหลืองมานานแล้ว ตั้งแต่สมัน 3500ปีที่แล้ว ว่ากันว่าซีอิ๊วนั้นเกิดขึ้นในราชวงศ์จู(246-1134ปี ก่อนคริสตกาล) โดยเรียกมันว่า chiang/jiang แต่ก็ว่ากันว่าซีอิ๊วในสมัยนั้นอาจไม่ได้มีวิธีการผลิตอย่างสมัยนี้ แต่เป็นถั่วเหลืองหมักทั้งเมล็ดจนพัฒนาเป็นเต้าเจี้ยวเเบบเมล็ด และแบบข้นเช่นมิโสะญี่ปุ่น จนพัฒนาเป็นน้ำกรองจากถั่วเหลืองหมักกับข้าวและน้ำเกลือ
ล่วงเข้าถึงสมันราชวงศ์ซ้อง(ค.ศ.960-1279) ซีอิ๊วจึงเริ่มแพร่หลายมาก ถึงขั้นเป็น 1ใน7สิ่งจำเป็นของวิถีจีน คือ ฟืน ข้าว น้ำมัน เกลือ น้ำส้มฯ ชา ซีอิ๊ว และในสมัยนี้ คำว่า chiang ก็เริ่มทีความหมายเจาะจงถึงซีอิ๊ว ไม่ใช่หมายถึงถั่วเหลืองหมักเหมือนเมื่อก่อน ดังที่ต่อมาจีนได้เรียกซีอิ๊วว่า "เจี่ยงอิ้ว" และรับต่อไปถึงญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นนั้นเริ่มใช้ซีอิ๊วมาจากการทำมิโสะก่อนที่จะเอามาหมักกับข้าวคั่วและน้ำเกลือเพื่อกรองเป็นซีอิ๊ว ช่วงปีค.ศ.1561-1661 ซีอิ๊วยี่ห้อ คิคโคแมน เริ่มหมักที่หมู่บ้านโนดะทางตะวันตกของเอโดะ จนปี 1630 โชยุนั้นก็ได้แพร่หลายจนกลายเป็นวิถีการกินของคนญี่ปุ่น
และถึงจะมาทีหลังแต่ดังกว่า โชยุนั้นดูจะแพร่หลายโด่งดังมากกว่าต้นแบบของมันเสียอีก รากศัพท์ของโชยุ มาจากภาษาจีนกวางตุ้งที่เรียกซีอิ๊วว่า ซิโหย่ว ภาษาจีนกลางว่า ซิยุ

ซีกโลกตะวันตกเพิ่งรู้จักซีอิ๊วครั้งแรกจากญี่ปุ่น โดยนำเข้ามาเมื่อช่วง คริสตศตวรรษที่17 โดยพ่อค้าชาวฮอลันดา โดยเรียกมันว่า โซย่า(soya) ลือกันว่าพระเจ้าหลุยส์ที่15 โปรดปรานมันมาก
ภาษาอังกฤษได้เรียกชื่อของมันตามคำว่า soya/soy ตามภาษาดัตช์ เหมือนที่เรียกถั่วเหลือง จนภายหลังได้เปลี่ยนชื่อมันเป็น soy sauce จนปัจจุบัน

คนจีนนั้นเมื่ออพยพไปที่ไหนก็จะเอาซีอิ๊วไปที่นั่น เช่น เกาหลี อินโดฯ ฟิลิปินส์ เวียดนามฯลฯ
ในไทยนั้นเรียกชื่อตามสำเนียงแต้จิ๋ว ว่า "ซีอิ๊ว" ซึ่งแปลว่า "ซอสถั่วเหลือง"
แต่การหมักซีอิ๊วของคนจีนในไทยแรกๆกลับเป็นของคนกวางตุ้ง ที่มาค้าขายในไทยโดยหมักขายเองใช้เองในร้านขายของชำ จนต่อมาเริ่มมีอุตสาหกรรมมากขึ้นจึงขยับขยายเป็นโรงงานเช่น หยั่นหว่อหยุ่น หรือง่วนเชียง ก็พัฒนามาจากซีอิ๊วร้านชำนี่หละ


การผลิต
ซีอิ๊วเป็นซอสที่เกิดจากการหมัก ดังนั้นจะเปรียบกับไวน์ก็คงไม่เกินเลยไปนัก โดยพื้นฐานนั้นซีอิ๊วเกิดจากปฏิกิริยาของถั่วเหลืองในน้ำเกลือ โดยมีเชื้อราเป็นตัวเริ่ม ข้าวสาลี/แป้งอื่นๆ ผสมกันให้เกิดความกลมกล่อมขึ้น

ถั่วเหลือง
ถั่วเหลือที่ดีคือถั่วเหลืองที่มีปริมาณโปรตีนมาก ถั่วเหลืองที่ใช้ทำซีอิ๊วมักเลือกขนาดเล็กแต่มีโปรตีนมาก เปลือกหนาเหนียวไม่แตกง่ายเวลาต้ม ว่ากันว่าถั่วที่ดีที่สุกนั้นมาจากแมนจูเรียในจีน
บางครั้งการใช้ถั่วเหลืองในการหมัก จะใช้ถั่วเต็มเมล็ด หรืออาจใช้กากถั่วเหลืองที่สกัดน้ำมันเอาไปทำน้ำมันถั่วเหลืองแล้วก็ได้

ข้าว/แป้ง
โดยทั่วไปมักใช้ข้าวสาลี เพราะรสและกลิ่นหอมมากกว่าข้าวอื่นๆ แต่ซีอิ๊วบางชนิด อาจไม่ใส่เลยก็ได้
ข้าวที่มหักนั้นก็มีหลายทั้งแบบคั่วแล้วโม่ละเอียด หรือแบบแป้งสาลีไปเลย

เชื้อรา
Aspergillus oryza และ A. soyae เป็นเชื้อที่นิยมเอามาใช้เพราะประสิทธิภาพสูงในการสร้างเอนไซม์ เพาะเลี้ยง่าย และเมื่อหมักไปเชื้อก็จะค่อยๆตายไปเอง เราใช้เชื้อราแค่เป็นตัวเร่งการสลายโปรตีนเท่านั้น
เชื้อAspergillus oryza นำมาใช้ในการผลิตเหล้าเหลืองด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่รสหรือกลิ่นของเหล้าจีน บางคนว่าคล้ายซีอิ๊ว

น้ำเกลือ
นิยมใช้เกลือทะเลละลายน้ำ โดยเข้มข้นที่17-22% ซึ่งพอที่ยับยั้งไม่ห้แบคทีเรียที่ทำให้เน่าเติบโต และไม่เข้มเกินไปที่จะทำให้จุลินทรีย์จากเชื้อราโตได้

แสงแดด
เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงแดดดีก็จะทำให้การหมักเร็วขึ้น การผลิตซีอิ๊วในไทย จึงใช้เวลาสั้นกว่าของชาติอื่น แต่ในปัจจุบันใช้การคุมอุณหภูมิแทนแล้ว ซึ่งสะดวกกว่ามาก


ระยะเวลาหมัก
หมัก1ปี กลิ่นดี
หมัก2ปี รสดี
หมัก3ปี สีดี
ระยะเวลานั้นมักอยู่ที่6-8เดือน แต่อย่างน้อยก็ต้องหมัก1-2เดือน ถึงจะได้ซีอิ๊ว ยิ่งหมักสั้น สีจะอ่อนและเค็มจัด แต่เมื่อหมักต่อๆไปสีจะเข้มขึ้นงและรสเค็มลดลง ความหนืดก็เพิ่มขึ้น กรดอะมิโนเยอะขึ้น
ซีอิ๊วที่หมักได้ตามเวลานั้นจะได้สีน้ำตาลแดงเข้ม จนผ่านไปสีจะเข้มจนถึงดำ  แต่ถ้าสีจางๆ เกิดจากใช้ตัวเร่งให้เกิดการหมัก เช่นการใช้ความดันเร่งให้หมักไวขึ้น หรือแม้ระทั่งการที่ผสมน้ำเกลือเจือจางมากเกินไป ทำให้ได้ซีอิ๊วคุณภาพต่ำ


วิธีทำ

- ถั่ว เหลือง 0.5 กก.
- แป้งสาลี หรือแป้งข้าวเจ้า 150 กรัม
- ส่าเชือ 1-2 ช้อนชา
- น้ำเกลือ (17-22% การเตรียมน้ำเกลือควรทำล่วงหน้าไว้ก่อน 1 วัน) 2 ลิตร

-นำถั่วเหลืองมาล้างสิ่งปนเปื้อน แช่น้ำ8-10ชั่วโมง โดนเปลี่นน้ำตลอดด้วยวิธีน้ำล้น เพื่อป้องกันการเน่าเสีย
-นึ่งถั่วเหลืองให้สุกแล้วผึ่งแห้ง
-นำผสมกับแป้งและเชื้อรา แล้วเกลี่ยทิ้งไว้3-4วันจะมีเส้นใยเกิดขึ้น ก็จะได้ก้อน"โคจิ"
-น้ำโคจิใส่ถังหมัก เติมน้ำเกลือจนท่วม เพื่อให้ไดโมโรมิ หลังจากเตรียมโมโรมิแล้วจะทิ้งไว้ให้เกิด
การหมักขึ้น คนสัปดาห์ละครั้งเพื่อไล่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออก และยังยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการ หมักภายใต้แสงแดด แต่ไม่ให้โดนน้ำค้างและน้ำฝน
-ถ้าเป็นการหมักแบบธรรมชาติ ไม่มีการควบคุมอุณหภูมิจะใช้เวลาในการหมัก 12-14 เดือน แต่ถ้ามีการควบคุมอุณหภูมิช่วง 35-40 องศาC ระยะเวลาในการหมักและการบ่มจะเหลือเพียง 2-4 เดือน
-ได้ที่แล้วเอามากรอง โดยใช้ผ้าบิด หรือเครื่องอัด
-ในตอนท้ายอาจมีน้ำมันถั่วเหลืองปนมาด้วย จึงมักทิ้งไว้4วันให้น้ำันลอยแล้วแยกออก
-พาสเจอไรซ์ บรรจุขวด




ซีอิ๊วจีน


  • light เชิงโชว/เจียงชิง รสเบา ไม่หนืดข้น ทึบแสง และสีน้ำตาลดำ ถือว่าเป็นตัวแม่บทของซีอิ๊วทุกชนิด  แยกย่อยไปอีกก็จะมี 
  • touchou ทำจากถั่วเหลืองน้ำแรก เหมือนextra virgin olive oil 
  • shuanghuang หมักสองครั้ง ซึ่งรสจะซับซ้อนขึ้นไปอีก ซึ่งจริงแล้วก็ยากในการจำแนก แต่รวมๆแล้วก็มักไว้ใช้จิ้ม
  • dark/old เล่าโฉว สีเข้มและข้นหมักนาน ใส่โมลาส ซึ่งเป็นลักษณะเด่น นิยมใส่ในระหว่างทำอาหารกลิ่นจะเปลี่ยนหลังได้รับความร้อน รสจะคมขึ้นเเละหวานเล็กๆ รสมักจะเค็มน้อยกว่าแบบขาว โดยมากจะใส่เพื่อให้สีและกลิ่น มากกว่าให้รสเค็ม
  • thick เจียงโย่วเกา ซีอิ๊วดำข้นและด้วยแป้งและน้ำตาล บางทีใส่ชูรสลงไปผสมมักใช้จิ้ม หรือราดลงไปในอาหารเพื่อเติมกลิ่น
  • dark soy paste/เต้าเจี้ยว ฮวงเจียง แม้ว่าไม่ใช่ซีอิ๊วแต่ก็ถือว่าเป็นแบบหนึ่งของซีอิ๊วเป็นวัตถุดิบหลักของ จาเจี้ยงเมี่ยน จริงๆแล้วมันก็คือเต้าเจี้ยวนั่นหละ
  • ซีอิ๊วนึ่งปลา ใช้ซีอิ๊วขาวมาผสมกับยีสต์สกัด(ซอสปรุงรส)เพื่อกลิ่นที่เข้มข้นขึ้น



ญี่ปุ่น


  • Koikuchi  ซีอิ๊วแบบฝั่งคันโต ใช้แทบทุกอย่างในอาหารญี่ปุ่น เกือบ80%  ถือเป็นซอสแม่บท ทำจากถั่วเหลืองและข้าวสาลีในปริมาณที่พอๆกัน ใช้ชื่อkijoyu/namashoyu ในแบบที่ไม่พาสเจอไรซ์
  • Usukuchi   ซีอิ๊วแบบฝั่งคันไซ เค็มและใสกว่า Koikuchi
  • Tamari   ถือกำเนิดมาจากตอนกลางของประเทศญี่ปุ่นChubu region ทามาริเข้มกว่าทั้งสีและรส ใส่แป้งสาลีน้อย/ไม่ใส่เลย ซึ่งเหมาะสำหรับการไดเอทแบบไม่มีแป้ง(แอทกินส์) ซึ่งต้นแบบของโชยุชนิดนี้มาจากจีน โดยเริ่มจากการหมักมิโซะ จะได้miso-damari หรือที่เรียว่ามิโซะน้ำนั่นเอง
  • Shiro  สีอ่อนมาก ตรงข้ามกับทามาริ ใช้ข้าวสาลีมากและถั่วน้อย รสเบาและอมหวาน มักใช้ในแถวคันไซ เช่นใช้กับซาชิมิ
  • Saishikomi(ต้มสองครั้ง) รสดี เข้มข้น และก็ถือว่าใช้แทนกันได้กับ tamari แต่ก่อนทำจากการหมักถั่วเหลืองต่อกับ koikuchiแทนการใช้น้ำเกลือ ดังนั้น จะดำกว่าและรสแรงกว่า โดยมีอีกชื่อว่า kanro shoyu หรือโชยุหวาน


    โชยุแบบใหม่ๆของญี่ปุ่น

  • Gen en(เกลือน้อย)  เค็มน้อย โดยเป็นทางเลือกหนึ่งของโชยุ
  • Amakuchi  เป็นโชยุของฮาวาย พัฒนาจากkoikuchi


   เกรดของโชยุ

  • Honjozo hoshiki  100% หมักธรรมชาติ
  • Shinshiki hoshiki  30-50% หมักธรรมชาติ
  • Tennen jozo เทนเนน โจโซ แปลว่าไม่ใส่แอลกอฮออล์


  เกรดของโชยุสำหรับการขาย

  • Hyojun เฮียวจุน ปกติ พาสเจอไรซ์
  • Tokkyu ทคคิว คุณภาพพิเศษ ไม่พาสเจอไรซ์
  • Tokusen โทคุเซน เกรดดีมาก ผลิตน้อยโดย ผลิตเป็นครั้งคราวเท่านั้นและไม่จัดอยู่ในกับการแบ่งเกรด
  • Hatsuakane ฮัทสึอาคาเนะ เกรดอุตสาหกรรม สำหรับผลิตเป็นกลิ่นหรือเป็นผงสำเร็จรูป
  • Chotokusen ชตโตะคุเซน สำหรับซื้อขายในตัวแทนจำหน่าย ถือว่าเป็นเกรดตัวอย่าง



อินโดนีเซีย

ซีอิ๊วในอินโดถือได้ว่าเป็นประเทศที่นิยมใช้และผลิตซีอิ๊วได้ดีมากแห่งหนึ่งเหมือนกัน ซึ่งคาดว่าน่าจะมาจากในอดีต คนจีนอพยพมาจากแผ่นดินจีนตอนใต้ ซึ่งในอาหารอินโดก็ถือว่าเป็นส่วนผสมของวัฒนธรรมการกินแบบจีนอยู่พอสมควร

  • Kecap asin เคชัป อาซิน  ซีอิ๊วรสเค็ม คล้ายซีอิ๊วขาวจีน แต่เข้มกว่าและกลิ่นจะหนักแน่นกว่า สามารถใช้เเทนกันได้
  • Kecap manis เคชัป มานิส ซีอิ๊วหวาน ข้นเป็นน้ำเชื่อม มีกลิ่นของโมลาสเพราะใส่น้ำตาลโตนด สามารถใช้โมลาสกับสต๊อกผักแทนได้
  • Kecap sedang กึ่งกลางระหว่างKecap asinและKecap manis
  • Kecap inggris วูสเตอรซอส
  • Kecap Ikan น้ำปลา


ไต้หวัน
ซีอิ๊วไต้หวันได้อิทธิพลจากทางฟูเจี้ยน/กวนตง ซึ่งแยกกับจีนตอนเกิดสงคราม ดังนั้น ซึ่งซีอิ๊วไต้หวันนั้นจึงมีพื้นฐานจากจีน แต่ใช้วิธีการผลิตแบบญี่ปุ่น โดยรวมถือว่าเป็นประเทศที่ผลิตซีอิ๊วได้รสดีมากเลยทีเดียว

เกาหลี
Joseon ganjang เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจาก doenjang(เต้าเจี้ยวเกาหลี) ใสและสีน้ำตาลดำ บางชนิดทำจากถั่วเหลืองกับน้ำเกลือ ส่วนความเค็มนั้นผันผวนตามผู้ผลิต มักใช้แยกกัน

  • สีส้ม - สำหรับจิ้ม
  • สีเหลือง - สำหรับปรุงซุป
  • 510s - เกรดพรีเมี่ยม


เวียดนาม
เวียดนามก็ใช้ซีอิ๊วเหมือนกัน โดยรัยกว่า xi dau /เนื้อก เทือง

มาเลเซีย
ในสิงคโปร์+มาเลเซีย จะเรียกว่า douyou ซีอิ๊วดำ jiangyou และซีอิ๊วขาว jiangqing angmoh tauyew (อั่งม๊อ เต้ายิ้ว)เป็นชื่อจีนฮกเกี้ยนของ วูสเตอร์ซอส
มาเลเซียมีวัฒนธรรมคล้ายอินโดฯ ใช้คำว่า kicap กับ ซีอิ๊ว โดยมี2แบบคือ

  • Kicap lemak เหมือน manis แต่น้ำตาลน้อยกว่า
  • kicap cairเหมือน asin


ฟิลิปินส์
เรียกว่า toyo สีสันนั้นใกล้เคียงกับpatis(น้ำปลา)และsuka(น้ำส้มอ้อย) รสของมันมาจาก ถั่วเหลือง ข้าวสาลี เกลือและคาราเมล ใสและเค็ม คล้ายโชยุ ใช้ตั้งแต่หมักยันปรุง โดยมักเสิร์ฟคู่กับ ส้มจี๊ด

ฮาวาย
เอกลักษณ์คือ Aloha Shoyu Company since 1946 เป็นซีอิ๊วผสมพิเศษจาก ถั่วเหลือง ข้าวสาลี เกลือ
เกิดในช่วงที่คนญี่ปุ่นเข้ามาตั้งรกรากที่นี่ บางทีเรีัยกว่า show you แผลงจากคำว่า โชย


ซีอิ๊วในไทย


  • ซีอิ๊วขาว  บ้านเรานั้นผลิตซีอิ๊วใสกว่าชาวบ้าน อาจเพราะอากาศก็เป็นได้ทำให้สีของซีอิ๊วบ้านเราอ่อนกว่าของชาติอื่นๆเขา อาจเพราะบ้านเรายึดติดกับน้ำปลา จึงต้องทำสีให้ใกล้เคียง เมื่ออยู่ในตลาดโลก จึงอยู่ในตำแหน่ง thin soy sauce  ส่วนซีอิ๊วขาวจีน อยู่ที่ regular soy sauce แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น บ้านเราถึงว่าผลิตซีอิ๊วออกมาได้ไม่เลวทีเดียวหละ
    โดยจำแนกตามสูตรได้ดังนั้น
    สูตรทอง หัวซีอิ๊วทำจากถั่วเหลืองคุณภาพดีที่สุด หอมที่สุด สีเข้มที่สุด
    สูตร1 หัวซีอิ๊ว กลิ่นรองลงมาแต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก
    สูตร2 เอาสูตร1มาผสมน้ำเกลือแล้วหมักกับกากที่เหลือต่อกับน้ำตาลทรายและน้ำเกลือฃ
    สูตร3 เอาสูตร1ผสมสูตร2มาผสมน้ำเกลือแล้วหมักกับกากที่เหลือต่อกับน้ำตาลทรายและน้ำเกลือ
    สูตร4 หางซีอิ๊ว เอาสูตร1(น้อย)ผสมสูตร2และสูตร3 มาผสมน้ำเกลือแล้วหมักกับกากที่เหลือต่อกับน้ำตาลทรายและน้ำเกลือ
    สูตร5 เอาหางซีอิ๊วมาผสมกับกากน้ำตาล แล้วปรุงรสเป็นซีอิ๊วดำชนิดหวานแบบใสๆ
  • ซีอิ๊วดำเค็ม/หน่ำเฮียง  เป็นสูตรของจีนทางใต้ กระบวนการผลิตยุ่งากโดยอาจไม่ใช้แป้งเลย ใช้ถั่วเหลืองหมักล้วนๆ หมัก2-6เดือน เมื่อเสร็จแล้วเอามาต้มเคี่ยวอย่างน้อย5ชั่วโมง อาจเติมเครื่องเทศต่างๆเช่น อบเชน ลูกจันทน์ โป่ยกั๊ก พริกไทยฯลฯ รสเค็มจัดเเละโปรตีนมากกว่าซีอิ๊วขาว บางโรงงานมักใช้กากซีอิ๊วมาผสมน้ำเกลือแต่งสี แล้วนำออกขาย
  • ซีอิ๊วดำหวาน มักใช้ซีอิ๊วขาวมาผสมน้ำตาลให้หวานโดยมากมักใช้หางซีอิ๊วมาผสมกากน้ำตาลบางยี่ห้อจริงๆถึงใช้น้ำตาลทรายผสม ถือว่าเป็นเกรดดีโดยแบบชั้นเลวจะใช้น้ำเกลือผสมกากน้ำตาลแล้วแต่งสี รส กลิ่น เพื่อลดต้นทุน
  • จิ๊กโฉ่ว  ตามจริงแล้ว จิ๊กโฉ่วถือว่าเป็นน้ำส้มสายชูมากกว่าซีอิ๊วมักทำโดยการเอาซีอิ๊วขาวมาหมักกับเชื้อน้ำส้มสายชูประมาณ1เดือนแต่บ้านเรามีแบบชั้นเลวคือ จิ๊กโฉ่วปลอม ทำโดยการเอาซีอิ๊วผสมน้ำส้มสายชูเลย ซึ่งราคาจะถูกมาก พยามอย่าใช้
  • ซอสปรุงรส  จริงๆแล้วมันไม่ใช่ซีอิ๊ว แต่วัตถุดิบแทบจะไม่ต่างกันเลยโดยการใช้วิธีหมักแบบกึ่งเคมี คือเอากรดเกลืออ่อนๆมาช่วยเร่งการสลายโปรตีน แล้วปรับสภาพให้เป็นกลาง แต่งกลิ่น/รส ซึ่งบ้านเรามักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นซีอิ๊ว จริงๆแล้วสี รสและกลิ่นจะคนละอย่างกันเลย


ประวัติซอสปรุงรสของทางฝรั่งนั้น เกิดจากนาง จูเลียส แมกกี้ ได้อยากให้คนงานทั่วไปได้รับสารอาหารจากผักมากขึ้นจึงงใช้โรงงานที่บ้านตัวเองพัฒนาสูตรซุปผักขึ้นมา ซึ่งภายหลังได้รับความนิยมมาก และกลายเป็นซอสปรุงรสยี่ห้อ"แมกกี้" ที่รู้จักไปทั่วโลก จะว่าไปซอสตระกูลนี้จะมีกลิ่นยีสต์ค่อนข้างแรง ใครเคยกิน เวจจี้ไมท์/มาร์ไมท์ ของออสเตรเลียฯจะรู้สึกได้ว่ารสมันคล้ายๆกัน

โดยซอสปรุงรสบ้านเราเรียกว่า ซอสภูเขาทอง รสเหมือนแมกกี้ โดยแบ่งเกรดตามสีฝา เรียงจาก เหลือง แดง เขียว น้ำตาล ซึ่ง
ฝาเหลืองจะใช้ถั่วเหลืองที่มีปริมาณโปรตีนมากที่สุด
ส่วนอีก3ฝา จะใช้ถั่วเกรดเดียวกันแต่ปริมาณของถั่วต่างกัน

เนื้อหาจาก น้าบัง
http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2008/12/D7327782/D7327782.html

รูปจาก
http://www.chinesetimeschool.com/th-th/articles/preserving-the-legacy-of-natural-fermented-soy-sauce/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น