พันธุ์อะโวคาโด
พันธุ์อะโวคาโดที่รสชาติดีนั้น เป็นพันธุ์ที่มี เปอร์เซ็นต์ไขมันค่อนข้างสูง ถึงสูง โดยพันธุ์ แฮส (Hass) มีไขมัน ประมาณ 18-25% เฟอร์เต้ (Fuerte) มีน้ำมัน 14-18% และพันธุ์ บัคคาเนีย มีน้ำมัน 12-14% ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวจะมีผลต่อปริมาณไขมันมาก โดยผลอะโวคาโดที่อายุมากขึ้นจะสะสมไขมันมากขึ้นตามลำดับ
พันธุ์แฮส (Hass)
ใบแหลมเรียว ใบออกห่าง ๆ กัน ผลรูปแพร์ ผิวขรุขระมาก ผิวสีเขียวเข้ม เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ ผลมีขนาดเล็กน้ำหนักประมาณ 200-300 กรัม เนื้อสีเหลือง เมล็ดเล็กถึงขนาดกลาง เปลือกผลค่อนข้างหนา ทนทานต่อการขนส่ง พันธุ์นี้ยังมีข้อดีอีกประการคือ เมื่อผลแก่แล้ว ก็ยังสามารถเลี้ยงอยู่บนต้นได้อีกนานหลายเดือน ช่วงเก็บเกี่ยวผลเดือนธันวาคม –กุมภาพันธ์ มีไขมันสูงมาก คือ ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่า เป็นพันธุ์การค้าอันดับ 1 ของโลก พันธุ์นี้ผลมีราคาแพงมากที่สุด แต่ให้ผลดีในที่อากาศเย็น พื้นที่ปลูกที่เหมาะสมควรสูงจากระดับน้ำทะเล 600 เมตรขึ้นไป ระยะปลูกที่แนะนำคือ 8×8 เมตร
บูช 7 (Booth-7)
ใบใหญ่เป็นมัน ผลค่อนข้างกลมป้าน ขนาดประมาณ 3 ผลต่อกิโลกรัม ผิวผลค่อนข้างขรุขระ สีเขียว เปลือกหนา เนื้อสีเหลืองอ่อน เมล็ดขนาดกลาง เมื่อสุกผลมักจะตกกระ มีไขมัน 7-14 เปอร์เซ็นต์ ช่วงเก็บเกี่ยวผลประมาณวันที่ ตุลาคม ถึง ธันวาคม อายุ 5 ปี 249 ผลต่อต้น พันธุ์นี้ให้ผลผลิตดก ลำต้นขนาดใหญ่ ค่อนข้างทนต่อโรค แต่ผลรสชาติปานกลาง
ปีเตอร์สัน (Peterson)
เป็นพันธุ์เบา ให้ผลผลิตก่อนพันธุ์อื่น ๆ คือประมาณเดือนมิถุนายน ถึง กรกฎาคม ลักษณะผลกลม ใบเรียงซ้อนกันถี่ ๆ และเป็นมัน ใบอ่อนสีแดง ผลมีลักษณะกลม
เฟอร์เต้ (Fuerte)
ลำต้นขนาดใหญ่ และแผ่กว้าง ผลรูปแพร์ ผิวขรุขระเล็กน้อย ผิวสีเขียวเข้ม เนื้อสีเหลืองครีม เมล็ดขนาดกลาง น้ำหนักผลประมาณ 150-300 กรัม รสชาติดีมาก แต่ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรค เปลือกผลบางทำให้ไม่ทนทานต่อการขนส่ง ชอบอากาศเย็น แต่ไม่หนาว อากาศร้อนหรือหนาวเกินไปจะทำให้การออกดอกน้อยและไม่สม่ำเสมอ เป็นพันธุ์กลุ่ม B ควรปลูกพันธุ์กลุ่ม A ร่วมด้วยเพื่อเพิ่มการติดผล ช่วงเก็บเกี่ยวผลเดือนตุลาคม – ธันวาคม เป็นพันธุ์การค้าของโลก รอง ๆ จากพันธุ์ แฮส
บัคคาเนีย (Buccaneer)
ผลมนรี ผลมีขนาดใหญ่ ถึง 3-4 ผลต่อกิโลกรัม ใบกว้างผิวใบไม่มัน ยอดเขียว ผลแก่จะเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นเหลือง ผลดก ดูแลง่าย ขนาดต้นใหญ่และแผ่กว้าง ระยะปลูกที่แนะนำคือ 10×10 เมตร
พิงค์เคอร์ตัน (Pinkerton)
ขนาดต้นค่อนข้างเล็ก ใบเรียวยาว และจะสั้นกว่าพันธุ์ Hass ผลผิวขรุขระ ผลแก่เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเขียวเข้ม รสขาติมัน เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง ใกล้เคียงพันธุ์ Hass แต่มีข้อดีคือ ผลใหญ่กว่าแฮส และเมล็ดมีขนาดเล็กกว่า น้ำหนักผลประมาณ 3 ผลต่อกิโลกรัม ผลดก สามารถปลูกในพื้นที่สูงน้อยกว่าพันธุ์ Hass คือประมาณ 300-400 เมตรขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล และขนาดต้นที่เล็ก ทำให้จำนวนต้นที่ปลูกต่อไร่มีมากกว่า พันธ์ุนี้มีข้อด้อยกว่าพันธุ์แฮส ตรงที่ผลแก่ไม่สามารถเลี้ยงอยู่บนต้นได้นานเท่าแฮส ทำให้ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวค่อนข้างสั้น
A.034 (A034) อะโวคาโดชนิดนี้ มีถิ่นเกิดหรือถิ่นกำเนิด จากประเทศเวียดนาม โดยเกิดจากการผสมเกสรข้ามสายพันธุ์ระหว่างอะโวคาโดสายพันธุ์ชื่อ HASS กับอะโวคาโดสายพันธุ์ชื่อ RUSSELL , ผลมีขนาดใหญ่มาก น้ำหนักเฉลี่ยระหว่างครึ่งกิโลกรัมต่อผล รูปทรงของผลแปลกกว่าผลอะโวคาโดทั่วไปคือ “ผลยาว” ดูเหมือนกับผลแตงกวาญี่ปุ่น ผิวผลขรุขระเล็กน้อย รสชาติเนื้อในหวานมันคล้ายเนื้อของอะโวคาโดพันธุ์ HASS แต่จะให้ความรู้สึกถึงความมันที่เข้มข้นกว่าอโวคาโดพันธุ์ HASS มากกว่าด้วย นอกจากต้นจะเตี้ยแล้วยังมีดอกและติดผลได้เร็วมากคือ หลังปลูกประมาณ 2–3 ปีเท่านั้น ช่วงเก็บเกี่ยวผลประมาณเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม แต่อะโวคาโดพันธุ์นี้สามารถให้ผลได้ตลอดทั้งปีโดยเฉพาะนอกฤดูช่วงเดือน กพ-เมษา จะเริ่มมีผลนอกฤดูออกมา
TA21 (TA21) อะโวคาโดชนิดนี้ มีถิ่นเกิดหรือถิ่นกำเนิด จากประเทศเวียดนาม
การสังเกตและเก็บเกี่ยวผลอะโวคาโด
โดยธรรมชาติแล้วอะโวคาโด จะไม่สุกบนต้น แต่จะสุกหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลออกจากต้นแล้ว ปกติจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งหมายความว่า หลังจากเก็บผลจากต้นแล้ว เราต้องทิ้ง หรือบ่ม อะโวคาโดไว้ที่อุณหภูมิห้อง 1 สัปดาห์ก่อนนำมารับประทาน
การเก็บ ผลอะโวคาโด ที่อ่อนเกินไป นอกจากจะมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันน้อยแล้ว ยังทำให้ ไม่สามารถบ่มอะโวคาโดให้สุกได้ คือผลอาจจะเน่าไปเลยโดยที่ยังไม่สุก ดังนั้นเกษตรกรควรมีหลักในการสังเกตุเพื่อเก็บผลผลิตที่แก่เพียงพอ นอกจากนี้ เรายังสามารถ ทิ้งผลอะโวคาโด ที่แก่ ให้อยู่บนต้นได้อีกระยะหนึ่ง หากเก็บไม่ทัน หรือต้องการรอเวลา แต่ทั้งนี้ ขึ้นกับแต่ละสายพันธุ์ด้วย
การเก็บผลต้องให้ขั้วผลติดกับผลด้วย เพราะหากขั้วผลหลุดจากผล จะทำให้ผลเสียหายง่ายขณะบ่มให้สุก วิธีหนึ่งในการตรวจสอบว่าผลอะโวคาโด พร้อมเก็บเกี่ยวหรือไม่ ให้เก็บผลจากจุดต่าง ๆของต้น มา 6-8 ผล จากนั้น ผ่าผลเพื่อดูเยื่อหุ้มเมล็ด หากเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นสีน้ำตาลทั้งหมด แสดงว่าผลแก่พร้อมเก็บเกี่ยวได้ ทั้งนี้ต้องระวังด้วยว่า อะโวคาโด อาจมีการออกดอก 2 ชุด ทำให้ผลในต้นเดียวกัน แก่ไม่เท่ากัน ควรตรวจสอบจากลักษณะผลภายนอกด้วย ตามข้อมูลในตารางด้านล้างนี้
สายพันธุ์ ช่วงเวลาเก็บเกี่ยว อายุผล
การสังเกตและเก็บเกี่ยวผลอะโวคาโด
โดยธรรมชาติแล้วอะโวคาโด จะไม่สุกบนต้น แต่จะสุกหลังจากที่เก็บเกี่ยวผลออกจากต้นแล้ว ปกติจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งหมายความว่า หลังจากเก็บผลจากต้นแล้ว เราต้องทิ้ง หรือบ่ม อะโวคาโดไว้ที่อุณหภูมิห้อง 1 สัปดาห์ก่อนนำมารับประทาน
การเก็บ ผลอะโวคาโด ที่อ่อนเกินไป นอกจากจะมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันน้อยแล้ว ยังทำให้ ไม่สามารถบ่มอะโวคาโดให้สุกได้ คือผลอาจจะเน่าไปเลยโดยที่ยังไม่สุก ดังนั้นเกษตรกรควรมีหลักในการสังเกตุเพื่อเก็บผลผลิตที่แก่เพียงพอ นอกจากนี้ เรายังสามารถ ทิ้งผลอะโวคาโด ที่แก่ ให้อยู่บนต้นได้อีกระยะหนึ่ง หากเก็บไม่ทัน หรือต้องการรอเวลา แต่ทั้งนี้ ขึ้นกับแต่ละสายพันธุ์ด้วย
การเก็บผลต้องให้ขั้วผลติดกับผลด้วย เพราะหากขั้วผลหลุดจากผล จะทำให้ผลเสียหายง่ายขณะบ่มให้สุก วิธีหนึ่งในการตรวจสอบว่าผลอะโวคาโด พร้อมเก็บเกี่ยวหรือไม่ ให้เก็บผลจากจุดต่าง ๆของต้น มา 6-8 ผล จากนั้น ผ่าผลเพื่อดูเยื่อหุ้มเมล็ด หากเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นสีน้ำตาลทั้งหมด แสดงว่าผลแก่พร้อมเก็บเกี่ยวได้ ทั้งนี้ต้องระวังด้วยว่า อะโวคาโด อาจมีการออกดอก 2 ชุด ทำให้ผลในต้นเดียวกัน แก่ไม่เท่ากัน ควรตรวจสอบจากลักษณะผลภายนอกด้วย ตามข้อมูลในตารางด้านล้างนี้
สายพันธุ์ ช่วงเวลาเก็บเกี่ยว อายุผล
สายพันธุ์ | ช่วงเวลาเก็บเกี่ยว | อายุผล (วัน)* | ลักษณะผล |
1. ปีเตอร์สัน (Peterson) | มิถุนายน – กรกฎาคม | 160 | ผลที่แก่และขั้วผลเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นเขียวปนเหลือง เกิดจุดประสีน้ำตาลบนผล มีน้ำหนักแห้ง 22.2% |
2. บูช-7 (Booth 7) | กลางกันยายน – ตุลาคม | 170 | ผลที่แก่จะมีนวลที่ผิวผล สีผิวผลเป็นสีเขียว เกิดจุดประสีน้ำตาลบนผล มีน้ำหนักแห้ง 14.8% |
3. บูช-8 (Booth 8) | กันยายน – ตุลาคม | 177 | ผลที่แก่จะมีนวลที่ผิวผล สีผิวผลเป็นสีเขียว เกิดจุดประสีน้ำตาลบนผล มีน้ำหนักแห้ง 16.5% |
4. บัคคาเนีย (Buccaneer) | กลางกันยายน – กลางตุลาคม | 180 – 187 | ผลที่แก่จะมีนวลที่ผิวผล สีของผลเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเล็กน้อย เกิดจุดประสีน้ำตาลบนผล มีน้ำหนักแห้ง 17.0% |
5. พิงค์เคอตัน (Pinkerton) | ตุลาคม – ธันวาคม | 309 | ผลที่แก่ผิวผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเขียวเข้ม มีน้ำหนักแห้ง 30.0% |
6. แฮส (Hass) | พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ | 242 – 250 | ผลที่แก่ผิวผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเข้มเป็นสีม่วงปนเขียว มีน้ำหนักแห้ง 24.7-29.0% |
หมายเหตุ * อายุผลหลังจากดอกบาน 50 เปอร์เซ็นต์ของช่อดอก
- ข้อมูลจากเวปไซต์ โครงการหลวง
เมื่อเราเก็บ อะโวคาโด จากต้นแล้ว จำเป็นต้องมีการบ่มเพื่อให้สุก ก่อนรับประทาน การบ่มนั้นทำได้ง่ายๆ โดยการทิ้งผลไว้ที่อุณหภูมิห้อง แต่หากต้องการเร่งให้ผลสุกเร็วขึ้น ให้ใส่ผลอะโวคาโดในถุงกระดาษสีน้ำตาล แล้วปิดปากถุง หากไม่มีก็ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ก็ได้ แล้วทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง ระยะเวลาอาจเพียงแค่ 1 คืน หรือหลายวัน ขึ้นกับอะโวคาโดแต่ละผล การทดสอบว่าผลสุกหรือยัง ให้ลองเอามือบีบผลเบา ๆ ถ้าผลบีบได้ ก็แสดงวาสุก หรืออีกวิธีให้กดบริเวณขั้วผลเบา ๆ ถ้ากดได้แสดงว่าสุก
หากผลสุกแล้วให้นำผลอะโวคาโด แช่ตู้เย็นเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ไม่ควรนำผลดิบที่ยังไม่สุกแช่ตู้เย็นเพราะอาจทำให้ผลไม่สุกแล้วเน่าไปเลยก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น